Stonemanex
ป้ายกำกับ
- เครื่องจังหวะ (1)
- เครื่องทองเหลือง (1)
- เครื่องลมไม้ (1)
- เพื่อนๆไง (1)
- วงโยธวาทิต (1)
- วาทยกร (1)
วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วาทยกร
วาทยกร (อังกฤษ: conductor) หรือผู้อำนวยเพลง คือคนที่ตีความหมายของบทเพลง โดยเห็นภาพรวมทั้งหมดของวงดนตรี มีหน้าที่ดึงความสัมพันธ์ของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นออกมาเพื่อสอดผสานรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน อาจกล่าวอีกนัยได้ว่า วาทยกร เป็นผู้ที่สื่อสารกับนักดนตรีด้วยภาษามือ เป็นเหมือนภาษาใบ้ที่ใช้กับดนตรี พร้อมกันนี้วาทยกรต้องมีความเป็นผู้นำที่สามารถให้ความเชื่อมั่นแก่นักดนตรีด้วย เสมือนผู้กำกับ
วาทยกรควบคุมวงดนตรีโดยการใช้รหัส หรือสัญญาณมือ มักถือไม้บาตอง (Baton) ที่มือขวาสำหรับให้จังหวะ ส่วนมือซ้ายจะควบคุมในด้านอื่น เช่น ให้นักดนตรีเล่นเสียงดังหรือค่อย หรือเป็นการแสดงออกด้านอารมณ์อื่น ๆ ที่วาทยกรต้องการสื่อสารกับนักดนตรีในวง วาทยากรจะพบในการแสดงดนตรีที่ใช้นักดนตรีจำนวนมาก เช่นในวง ออร์เคสตร้า วงประสานเสียง ส่วนการบรรเลงดนตรีในวงดุริยางค์ของกองทัพ อาจเรียกว่า หัวหน้าวงดุริยางค์
วาทยกรผู้เป็นสมาชิกของวงออร์เคสตร้าจะเป็นคนที่กำหนดทิศทางของวง ซึ่งบางครั้งเรียกว่า ผู้กำกับดนตรี หรือเรียกว่า คาเปลไมสเตอร์ (Kapellmeister) ในภาษาเยอรมันซึ่งหมายความถึง หัวหน้าวาทยากรในวงออร์เคสตร้าเยอรมัน สำหรับวาทยกรของวงประสานเสียง จะเรียก ผู้ควบคุมวงประสานเสียง ส่วนวาทยากรอาวุโสจะเรียกว่า มาเอสโตร (maestro - นาย) ในภาษาอิตาเลียน
แต่ความสำคัญของวาทยกรนั้น ไม่ได้อยู่แค่ที่การกำกับวงออกแสดงเท่านั้น กลับอยู่ที่การฝึกซ้อมนักดนตรีให้เล่นคีตนิพนธ์ต่าง ๆ ตามการตีความของวาทยกรแต่ละคน การนำวงดุริยางค์ออกแสดงเป็นแต่เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ของการเล่นและการตีความคีตนิพนธ์นั้น ๆ เพราะการฝึกซ้อมต้องใช้เวลาที่ยาวนานกว่าการออกแสดงแต่ละครั้ง ทั้งนี้วาทยกรยังต้องเป็นผู้ที่สามารถแนะนำหรือแก้ไขเทคนิคต่าง ๆ ให้แก่นักดนตรีได้ วาทยกรที่ดีจึงมักจะเป็นนักดนตรีที่ดีมาก่อนด้วย จึงจะสามารถเข้าใจปัญหาของวงได้เป็นอย่างดี และรู้ความสามารถและขีดจำกัดของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด
วาทยกรที่ดีเป็นแบบใดนั้น เป็นเรื่องที่ให้คำจำกัดความได้ยาก เพราะวาทยกรบางคนให้จังหวะแก่นักดนตรีได้อย่างแม่นยำ แต่วาทยกรบางคนก็ดูประหนึ่งว่าไม่ค่อยให้จังหวะแก่นักดนตรี หรือที่นักดนตรีเรียกว่า "ให้คิว" แต่กลับสื่อสารกับนักดนตรีได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้น คุณค่าของวาทยกรจึงไม่ได้อยู่ที่ลีลาการกำกับวงเมื่อออกแสดง แต่อยู่ที่การฝึกซ้อมและการสื่อสารกับนักดนตรีให้เข้าใจ วาทยกรใหญ่หลายต่อหลายคนออกท่าทางน้อยมาก เช่น อิกอร์ มาร์เควิช (Igor Markevitch) หรือบางคนอาจดูเหมือนให้จังหวะที่สับสน เช่น วิลเฮ็ล์ม ฟวร์ตแวงเลอร์ (Wilhelm Furtwangler) แต่บทเพลงภายใต้การกำกับวงของเขาเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า เต็มเปี่ยมไปด้วยความล้ำลึก คุณค่าของวาทยกรจึงมิได้วัดด้วยสายตา แต่ต้องวัดจากการฟังของผู้ฟัง
วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553
วงโยธวาทิต
วงโยธวาทิต (อังกฤษ: Military Band) คำว่า "วงโยธวาทิต" ในภาษาไทยนั้น เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นโดย นายมนตรี ตราโมท ส่วนรากศัพท์ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Military Band โดยคำว่า Military หมายถึง กองทัพ คำว่า Band หมายถึง วงดนตรี มาจากคำว่า Banda ในภาษาอิตาเลียน ดังนั้น วงโยธวาทิต (Military Band) หมายถึง กลุ่มผู้เล่นเครื่องดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องเป่าลมไม้ เครื่องเป่าทองเหลือง และเครื่องกระทบ วงโยธวาทิตแต่เดิมนั้นตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ทางทหารที่เรียกว่า "วงดุริยางค์ทหาร" ปัจจุบันวงโยธวาทิตได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนสามารถบรรเลงในงานต่างๆ ได้นอกเหนือจากการบรรเลงในกองทัพ
วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)